การสอบเทียบเครื่องมือวัด เป็นกระบวนการยืนยัน ค่าความถูกต้องและแม่นยำของเครื่องมือวัดนั้น ๆ ด้วยการทดสอบเครื่องมือในห้องปฏิบัติการโดยเจ้าหน้าที่มีประสบการณ์สูง ซึ่งจำเป็นต้องตรวจสอบค่าของเครื่องมือวัด ให้ถูกต้องอยู่เสมอ
เมื่อเครื่องมือวัดผ่านการสอบเทียบจะได้หลักฐานเป็น “ใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัด” ที่แสดงผลจากการสอบเทียบ และความไม่แน่นอนของการวัด และความไม่แน่นอนของการวัดที่สามารถสอบกลับสู่หน่วย SI Unit ซึ่งเป็นมาตรฐานการวัดโดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ถือว่าเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ และเป็นกระบวนการหนึ่งในระบบมาตรวิทยา
เหตุผลที่ต้อง สอบเทียบเครื่องมือวัด เพราะเครื่องมือทุกชนิด เมื่อนำมาใช้ใช้งานแล้วในระยะหนึ่ง ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง มีความคาดเคลื่อนของผลที่เกิดขึ้น ความเสื่อมต่าง ๆ และการแปรผันตามกาลเวลา อันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ไฟฟ้า เคมี หรือช่างกล เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ใช้งานเครื่องมือวัดจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การเสื่อมสภาพของเครื่องมือวัด ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการใช้งานและการเก็บรักษาอีกด้วย
และเมื่อเครื่องมือวัดอยู่ในสภาวะดังกล่าว สิ่งที่ตามมาคือเครื่องมือวัดที่เคยบอกค่าการวัดที่ถูกต้อง อาจบอกค่าที่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม ส่งผลให้ผลการวัดที่ได้รับไม่น่าเชื่อถือ ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพของ หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้เครื่องชั่ง ในการชั่งวัตถุดิบ หรือสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วเตรียมบรรจุภัณฑ์ เครื่องชั่งต้องได้รับการสอบเทียบเครื่องมือ ตามตารางที่กำหนด รวมไปถึงเครื่องมือ เครื่องจักรต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิต
ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม ที่ใช้ในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ถือเป็นกระบวนการในการตรวจสอบและสอบเทียบเครื่องมือวัดให้มีความถูกต้องตามขอบข่าย ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้และกำหนดไว้ เพื่อให้ได้มาตรฐานก่อนนำออกจำหน่าย
การสอบเทียบเครื่องมือวัด จะต้องทำเมื่อใดก็ตาม ที่ผลการวัดของเครื่องมือวัดนั้นกระทบต่อคุณภาพของข้อมูลดังนั้น เครื่องมือวัดใดที่ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของข้อมูลก็ไม่จำเป็นต้องสอบเทียบ
การกำหนดว่าเครื่องมือวัดใดต้องสอบเทียบเครื่องมือ อาจจะใช้ข้อสันนิษฐานดังนี้
1.เครื่องมือวัดที่ใช้ในการสำรวจ อ่านค่าผิดไปจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะได้รับผลกระทบที่เสียหายต่อคุณภาพของข้อมูลหรือไม่ หากพบว่าการสำรวจขึ้นอยู่กับค่าการอ่านของเครื่องมือวัดเป็นสำคัญก็แสดงว่าเครื่องวัดนั้น ต้องดำเนินการสอบเทียบ
2.เมื่อใดที่เจ้าหน้าที่ มีเหตุผลที่จำเป็นต้องมั่นใจในค่าของเครื่องมือวัดก็ต้องสอบเทียบ
องค์ประกอบของการสอบเทียบเครื่องมือวัด ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. เครื่องมือวัดอ้างอิง (reference standards equipment)
2. วิธีการสอบเทียบที่เหมาะสม (method)
3. สภาวะแวดล้อมของห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (laboratory)
4. บุคลากรผู้ทำหน้าที่สอบเทียบ (personnel)
สำหรับการเลือก สอบเทียบเครื่องมือวัด นั้นขึ้นอยู่กับว่าต้องการจะใช้วัดปริมาณอะไร ลักษณะของชิ้นงานเป็นแบบใด ซึ่งจะรวมไปถึงการจัดหาเครื่องมือวัดที่ผู้ใช้จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ในการเลือกสอบเทียบเครื่องมือนั้นผู้ใช้งานจะต้องคำนึงถึงผลกระทบหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน ความสะดวก อายุการใช้งาน และงบประมาณในการจัดซื้อ โดยเครื่องมือวัดที่ได้ถูกใช้งานไปแล้วระยะหนึ่งจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งจะได้แก่ระยะเวลาการใช้งาน อุณหภูมิ ไฟฟ้า เคมี ที่จะส่งผลให้เครื่องมือวัดนั้นเสื่อมสภาพ และแสดงผลการวัดค่าที่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม ส่งผลให้การวัดมีความน่าเชื่อถือที่น้อยลงและจะส่งผลต่อคุณภาพของกระบวนการผลิตที่ลดลง
ผู้ตรวจสอบจะต้องทำการตรวจเช็คสอบเทียบเครื่องมือวัดเบื้องต้นว่าเครื่องมือวัดยังคงความสามารถในการใช้งานได้หรือไม่ ไม่มีความเสียหายในระหว่างกระบวนการสอบเทียบเครื่องมือและกระบวนการขนส่ง ทำการตรวจเช็คโดยการนำชิ้นงานที่เคยใช้วัดมาลองวัดเทียบกับเครื่องมือวัดตัวอื่น(ถ้ามี) ผลการวัดที่ได้ต้องไม่มีความแตกต่างกันเกินกว่าก่อนส่งเครื่องมือสอบเทียบ ซึ่งปกติแล้วใบรายงานผลจะมีรายละเอียดต่าง ๆ แนบมาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นค่ามาตรฐาน (STD) ซึ่งปกติแล้วจะมีค่าเท่ากับจุดสอบเทียบที่ลูกค้าระบุไว้ในใบคำร้องขอรับบริการสอบเทียบ สำหรับการอ่านค่าที่ได้นั้นสามารถอ่านได้จากเครื่องมือของลูกค้าเองเมื่อเทียบกับจุดที่เครื่องมือมาตรฐานอ่านค่าได้ ในส่วนค่าความผิดพลาดนั้นจะเกิดจากค่าความแตกต่างระหว่างเครื่องมือมาตรฐานกับเครื่องมือวัดของลูกค้าเองซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ สำหรับค่าความไม่แน่นอนในการวัดนั้นวัดได้จากค่าหลังจากส่งเครื่องมือสอบเทียบทุกครั้งซึ่งจะต้องมีค่านี้ติดมากับใบรายงานผลการสอบเทียบทุกครั้ง หากไม่มีใบนี้ถือว่าการสอบเทียบไม่สมบูรณ์
สำหรับห้องปฏิบัติการในการสอบเทียบนั้นจะมีผลต่อประสิทธิภาพและความถูกต้องของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดห้องนี้จะต้องถูกออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานอีกทั้งยังต้องควบคุมในเรื่องของอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง และยังต้องรวมไปถึงการสั่นสะเทือนด้วย ซึ่งปัจจัยด้านการควบคุมสภาวะแวดล้อมนั้นขนาดของห้องสอบเทียบเครื่องมือจะต้องมีความสัมพันธ์กับจำนวนบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วย หากในห้องปฏิบัติการมีจำนวน 2 คน ห้องก็ควรที่จะมีขนาดอยู่ที่ 4 x 3 เมตร และจะต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 18 – 28 องศาเซลเซียสและความชื้นสัมพัทธ์จะต้องอยู่ที่ 45-75%RH (หรือ 60±15 %RH)
สำหรับบุคลากรที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในการสอบเทียบเครื่องมือวัดนั้นจะต้องได้รับการอบรมและเก็บสะสมประสบการณ์จนถึงเกณฑ์ที่จะสามารถให้ผลสอบเทียบเครื่องมือที่ถูกต้องตามมาตรฐานได้ และจะต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานค่าความไม่แน่นอนของการวัดผลออกมาได้อย่างถูกต้องอีกด้วย