การสอบเทียบเครื่องมือวัดนั้น เป็นตัวช่วยที่จะสร้างความมั่นอกมั่นใจ และความน่าเชื่อถือ ในผลการวัดที่ออกมา ว่ามีความแม่นยำเป็นอย่างมาก ซึ่งมีอยู่มากมายหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือวัดที่ใช้สำหรับกระบวนการผลิต การทดสอบต่าง ๆ หรือใช้สำหรับการวิเคราะห์
ก่อนนำเครื่องมือวัดออกมาจำหน่ายนั้น ทางโรงงานอุตสาหกรรม ก็จะมีขั้นตอนหรือการตรวจสอบและสอบเทียบเครื่องมือวัดต่าง ๆ ให้มีความถูกต้องและแม่นยำตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ตามขอบข่ายหรือความคลาดเคลื่อนที่สามารถยอมรับได้ และเมื่อภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีการสั่งซื้อเครื่องมือเข้ามา ทางโรงงานอุตสาหกรรมก็จะรับรองผลการตรวจสอบ(inspection certificate) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ใบรับรองผลการสอบเทียบ (calibration certificate) ของเครื่องมือวัดนั้น ๆ มาให้ด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อตกลงในการสั่งซื้อ โดยในใบรับรองผลการตรวจสอบนั้น จะระบุคุณสมบัติเฉพาะต่าง ๆ ของเครื่องมือ เช่น พิสัยการวัด (range) ค่าความละเอียด (resolution) ค่าความถูกต้อง (accuracy) และสภาวะแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นที่เครื่องมือสามารถทำงานได้ เป็นต้น
หากได้นำเครื่องมือไปใช้งานได้ในระยะหนึ่งแล้ว อายุของส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องมือวัด ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น อาจเกิดจากกสาเหตุจากการ Drift หรือ การลอยเลื่อน (มอก. 235 เล่ม 14) ) หมายถึง การแปรผันอย่างช้า ๆ ตามเวลาของลักษณะทางมาตรวิทยาเครื่องมือวัด อาจเกิดจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ได้เช่น อุณหภูมิไฟฟ้า เคมี เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การใช้เครื่องมือวัดนั้น ย่อมเกิดการเสื่อมสภาพของเครื่องมือวัดได้ สาเหตุนั้นอาจเกิดได้จาก การใช้งานและการบำรุงรักษาซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องมือวัดที่เคยมีความถูกต้องและแม่นยำนั้น อาจมีการบอกค่าที่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม ทำให้ผลการวัดนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือ หากนำเครื่องมือวัดไปใช้งาน ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพและกระบวนการผลิตอย่างแน่นอน
การเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือวัด (Drift) นั้น เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือกำจัดได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการตรวจพบและแก้ไขได้ผ่านกระบวนการสอบเทียบ โดยใช้มาตรฐานการวัด ที่สามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติ เพื่อสอบเทียบเครื่องมือวัดต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต ให้เกิดความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด
องค์ประกอบของการสอบเทียบเครื่องมือวัด ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน ISO/IEC 17025
องค์ประกอบของการสอบเทียบเครื่องมือวัด ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ คือเครื่องมือวัดอ้างอิง (reference standards equipment) ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (laboratory) บุคลากรผู้ทำหน้าที่ในการสอบเทียบ (personnel) และวิธีการสอบเทียบ (method)
การทำ Calibration มี 2 วิธี
- ทำเองภายในบริษัท
- ส่งไปทำที่ภายนอกบริษัท ตามศูนย์สอบเทียบต่าง ๆ
การทำ Calibration ทั้งสองวิธีนี้ จะต้องคำนึงถึง การสอบกลับได้ (Traceability) และความไม่แน่นอนในการวัด (Measurement Uncertainty) จึงจะเกิดประโยชน์ มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้อง
Calibration หรือการสอบเทียบ ย่อมต้องการความถูกต้องและเทียงตรงของเครื่องวัดฯ ซึ่งมีผลต่อต้นทุน การผลิตสินค้าเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงต้องมีกฎเกณฑ์ดังรายละเอียดดังนี้
- จะต้องปฏิบัติและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ส่งผลเสียต่าง ๆ ตามมานั่นเอง
- ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความรู้เรื่อง Calibration
- รู้ Accuracy และวัตถุประสงค์ของเครื่องมือวัด
- ต้องมีเครื่องมือมาตรฐานที่ดีพอ (ดีกว่า 3 – 10 เท่า)
- ต้องมี Traceability (สามารถสอบกลับได้)
- ต้องมีห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน
บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดทดสอบจาก Intro Group
นอกจาก Intro Group จะเป็นตัวแทนในการจำหน่ายเครื่องมือวัดที่ได้มาตรฐานสูง จากแบรนด์ LLOYD และ Chatillon แล้ว ซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก Intro Group ยังมีศูนย์ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดทดสอบอีกด้วย โดยผ่านการรับรองห้องปฏิบัติการสอบเทียบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ที่ทำให้มั่นใจในความถูกต้องแม่นยำอย่างแน่นอน
Intro Group ให้บริการสอบเทียบครอบคลุม 12 สาขาการวัด (Scope of Calibration Service)
- สาขาบริการสอบเทียบแรง (Force calibration services)
- สาขาบริการสอบเทียบแรงบิด (Torque & torsion calibration services)
- สาขาบริการสอบเทียบด้านมิติและความยาว (Dimension & Length calibration services)
- สาขาบริการสอบเทียบตุ้มน้ำหนักและเครื่องชั่ง (Masses & Balances calibration services)
- สาขาบริการสอบเทียบเครื่องชั่งอุตสาหกรรม (Industrial Scales calibration services)
- สาขาบริการสอบเทียบปริมาตรและการไหล (Volume & Flow calibration services)
- สาขาบริการสอบเทียบอุณหภูมิและความชื้น (Temperature & humidity calibration services)
- สาขาบริการสอบเทียบด้านไฟฟ้าและความต่างศักย์ (Electrical & voltage ratio calibration services)
- สาขาบริการสอบเทียบความดันและสุญญากาศ (Pressure & vacuum calibration services)
- สาขาบริการสอบเทียบความแข็ง (Hardness calibration services)
- สาขาบริการสอบเทียบเครื่องมือวัดทดสอบพลาสติกและยาง (Plastic & rubber tester calibration services)
- สาขาบริการสอบเทียบเคมีและความหนืด (Chemical & viscosity calibration services)
เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เป้าหมายในการสอบเทียบนั่นก็คือ ลดความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้กับเครื่องมือวัด โดยการรับรองความถูกต้องแม่นยำได้โดยการสอบเทียบ ซึ่งจะเป็นตัววัดปริมาณ และควบคุมข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ ในภายในกระบวนการวัด ให้อยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ และได้ตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้
ดังนั้น สำหรับอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ มาตรฐานก็คือ การสอบเทียบเครื่องมือวัดทุกปี หากได้รับผลจากการสอบเทียบแล้ว สามารถปรับความถี่ได้ และอัพเกรดเป็นเครื่องมือ สอบเทียบเครื่องมือ ที่ได้มาตรฐานแล้วมีความถูกต้องและแม่นยำได้
การสอบเทียบเครื่องมือ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานในการนำไปประกอบธุรกิจต่าง ๆ ได้เกิดความมั่นใจในผลลัพธ์ที่ออกมา ตรวจสอบบันทึกและควบคุมได้ในภายหลัง
Intro Group “เป็นธุระเอาใจใส่พร้อมให้บริการ”
Intro Group ได้ให้ความสำคัญและความเอาใจใส่ในการดูแลเครื่องมือวัดเป็นอย่างมาก ซึ่งแตกต่างจากผู้จัดจำหน่ายรายอื่นอย่างแน่นอน เพราะเราได้ให้ความสำคัญได้ทั้งก่อนการขาย และหลังการขาย ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจในการเข้ามาใช้บริการกับเราเป็นอย่างมาก
โดยจะมี เจ้าหน้าที่เทคนิคผู้มีความเชี่ยวชาญและชำนาญ จะสอบถามความต้องการแบบลงลึก พร้อมตอบคำถามหรือข้อสงสัย และอธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคนิคการใช้งาน ไปจนถึงขั้นเสนอราคาเครื่องมือทดสอบ พร้อมอุปกรณ์ประกอบรุ่นที่ตรงกับความต้องการ และตรงตามลักษณะการใช้งานของลูกค้าให้มากที่สุด โดยลูกค้าสามารถนำผลิตภัณฑ์มาทดลองใช้กับเครื่องตัวอย่างที่ศูนย์บริการได้มีบริการไว้รองรับได้ โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
Intro Group ได้ให้บริการและอยู่เคียงข้างลูกค้ามาอย่างยาวนาน มากว่า 30 ปี ด้วยความเอาใจใส่ลูกค้าอย่างดีที่สุด ซึ่งนอกจากเรื่องของเครื่องวัดที่ได้คุณภาพแล้ว มีความแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานที่นาน อีกหนึ่งบริการที่เรามีให้ลูกค้านั่นก็คือ การบริการลูกค้าด้วยความใส่ใจให้สบกับคำขวัญประจำบริษัทที่ว่า ‘เป็นธุระ เอาใจใส่ พร้อมให้บริการ’
ถ้าเครื่องวัดของคุณอายุเกิน 8 ปีและเริ่มไม่น่าไว้วางใจลองติดต่อ Intro Group
กิตติวงษ์ จันทุม เป็นวิศวกรที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 15 ปีในอุตสาหกรรมสอบเทียบเครื่องมือวัด เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสอบเทียบอุปกรณ์วัดต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดแรงดัน เครื่องวัดระดับเสียง และอื่นๆ กิตติวงษ์ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อรับรองความสามารถในการสอบเทียบตามมาตรฐานสากล