
หลายองค์กรมักจะประสบปัญหาอย่างหนึ่ง คือ
การที่เราจะสอบเทียบเราจะต้องกำหนดความถี่อย่างไรดี ถึงจะเหมาะสมกับความต้องการ เพราะส่วนมากการสอบเทียบเครื่องมือจะต้องกำหนดเวลาในครั้งที่ 6 เดือนหรือ 12 เดือน ต่อการสอบเทียบหนึ่งครั้ง โดยเราสามารถพิจารณาจากองประกอบต่าง ๆ ได้ดังนี้
- การสอบเทียบประวัติของอุปกรณ์ หากพบว่ามีการสอบเทียบย้อนหลังประมาณ 2 – 3 ครั้ง แสดงว่าการสอบเทียบนั้นอยู่ในความถูกต้อง โดยไม่ได้ออกจากย่านที่เรากำหนด เราสามารถยืดระยะเวลาในการสอบเทียบออกไปได้ แต่ในทางกลับกัน หากการสอบเทียบออกจากย่านที่เรากำหนด ระยะเวลาการสอบเทียบของเราจะลดลงตามไปด้วย ถึงแม้ว่าจะมีประวัติการออกจากย่านเพียงแค่ครั้งเดียวก็ตาม
- เครื่องมือที่ถูกติดตั้งเอาไว้อยู่ในจุดวิกฤตหรือไม่ เพราะหากอยู่ในจุดวิกฤตของกระบวนการผลิต ก็จะทำให้มีความถี่ในการสอบเทียบมากขึ้นกว่าจุดการใช้งานแบบทั่ว ๆ ไป
- การเก็บรักษาเครื่องมือที่ใช้ในการสอบเทียบจะต้องเก็บรักษาให้เป็นอย่างดี เพราะระยะเวลาในการสอบเทียบอาจจะนานกว่า ดังนั้นเราจะต้องดูแลรักษาเครื่องมือวัดให้ดี
- สำหรับความถี่ในการใช้งานของเครื่องมือวัด หากมีการใช้งานที่บ่อยเกินไป โอกาสที่จะทำให้เครื่องวัดนั้นออกจากย่านที่เรากำหนดได้มากกว่า เครื่องมือที่ใช้งานในการวัดที่มีความถี่ในการใช้งานน้อย ดังนั้นความถี่ในการใช้สอบเทียบเครื่องมือก็จะมีความถี่ที่มากกว่าเช่นกัน
- การสอบเทียบเครื่องมือในการวัดเราสามารถพิจารณาจากประเภทของอุปกรณ์ได้หลากหลาย ซึ่งแต่ละอุปกรณ์มีความแตกต่างกันไป อุปกรณ์ที่เรียกว่า “ * Active Equipment “ จะมีความถี่ในการสอบเทียบมากกว่าอุปกรณ์ที่เรียกว่า “ ** Passive Equipment ”
และอุปกรณ์ที่เรียกว่า * Active Equipment คือ เครื่องมือวัดที่ต้องมีไฟเลี้ยง เช่น เครื่องชั่ง , Digital Multimeter เป็นต้น
** Passive Equipment คือ เครื่องมือที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่ต้องอาศัย
Bias supply หรือไฟเลี้ยง เช่น ตุ้มน้ำหนัก , Vernier Caliper เป็นต้น

เมื่อใดที่ต้องสอบเทียบ
การสอบเทียบเครื่องมือวัด เป็นการสอบเทียบที่จะต้องมีค่าใช้จ่าย แต่เราจะต้องสอบเทียบเพราะการสอบเทียบเครื่องมือวัดจะทำให้เรารู้ว่ามูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อมูล หากเราใช้เครื่องมือวัดที่ไม่ได้มาตรฐาน เราอาจจะเสียค่าใช้จ่ายในการสำรวจซ้ำ และค่าใช้จ่ายอาจจะสุงกว่าการการสอบเทียบเครื่องมือวัด การสอบเทียบที่ทำมากเกินความจำเป็นก็อาจก่อให้เกิดความสูญเสีย งบประมาณของหน่วยงานเกินความจำเป็นเช่นเดียวกัน
การสอบเทียบเครื่องมือวัดมักจะมีคำถามเกิดขึ้นบ่อย ๆ ว่าการสอบเทียบ เครื่องมือสอบเทียบ เราจะต้องสอบเทียบบ่อยแค่ไหน เราบอกได้เลยว่า เราสามารถสอบเทียบเครื่องมือวัดได้ก็ต่อเมื่อเครื่องวัดของเรามีผลกระทบต่อคุณภาพของข้อมูล หากเครื่องมือวัดของไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของข้อมูล เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องสอบเครื่องมือนั้น ๆ ก็ได้ แต่การที่เราจะกำหนดเครื่องมือวัดได้ เราจะต้องมีการสอบเทียบบ้าง โดยจะใช้ข้อสันนิษฐานดังต่อไปนี้ โดยให้เราตั้งคำถามว่าหากเครื่องมือวัดที่ใช้ในการสำรวจอ่านข้อมูลผิดพลาดไปจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะได้รับผลกระทบที่เสียหายต่อคุณภาพของข้อมูลหรือไม่ หากพบว่าการสำรวจขึ้นอยู่กับค่าการอ่านของเครื่องมือวัดเป็นสำคัญก็แสดงว่าเครื่องวัดนั้น ต้องดำเนินการสอบเทียบและอีกกรณีหนึ่งก็คือ เมื่อเจ้าหน้าที่มีความมั่นใจว่าในค่าของเครื่องมือวัดจะต้องสอบเทียบ ในเรื่องของความปลอดภัย เราก็สามารถนำมาสอบเทียบได้ ถึงแม้ว่าจะเสียค่าใช้จ่ายในการสอบเทียบ แต่เพื่อประสิทธิภาพของเครื่องวัด เราก็ควรที่จะสอบเทียบ เพื่อผลประโยชน์ของข้อมูล

กิตติวงษ์ จันทุม เป็นวิศวกรที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 15 ปีในอุตสาหกรรมสอบเทียบเครื่องมือวัด เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสอบเทียบอุปกรณ์วัดต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดแรงดัน เครื่องวัดระดับเสียง และอื่นๆ กิตติวงษ์ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อรับรองความสามารถในการสอบเทียบตามมาตรฐานสากล